วิศวกรรมด้านเสียง Audio engineering 
คืองานฝีมือช่างที่เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ สำหรับ การบันทึกเสียง การผสมและผลิตซ้ำของงานเสียง เป็นงานที่ต้องใช้ทั้งความสามารถเกี่ยวกับศิลปะ และขอบเขตวิชาชีพหลายด้าน รวมถึง อีเล็กทรอนิก electronics อะคุสติก acoustics ไซโคอะคุสติก psychoacoustics และ ดนตรี
ผู้ที่เป็นวิศวกรเสียงต้องเชี่ยวชาญในเรื่องสื่อต่างๆในการบันทึก เช่น เทปอนาล็อก เครื่องอัดแบบ digital multitrack เวิร์คสเตชั่น Workstations, และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ โดยเมื่อยุคของดิจิตอลมาถึง มันจึงเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นและมากขึ้นสำหรับ วิศวกรเสียง ที่ต้องมีประสบการณ์ ในการปรับตัวผสมผสาน ทั้งซอฟท์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์ จาก ความสอดคล้อง Synchronization ในการเปลี่ยนถ่าย Transfers ไปมาระหว่างอนาล็อกกับดิจิตอล
วิศวกรรมด้านเสียง เกี่ยวพันกับความคิดสร้างสรรค์ และการฝึกฝน ในด้าน เสียง และ ดนตรี เป็นงานที่มีความแตกต่างกับงานวิศวกรรมตามรูปแบบ เป็นการฝึกฝนเฉพาะด้านที่รู้กันคือ
วิศวกรควบคุมเสียง acoustical engineering
ผู้ควบคุมการผลิต Producer, ช่างเสียง engineer
นักผสมเสียง mixer
Phil Ek ได้อธิบายเรื่องวิศวกรรมเสียงไว้ว่า "การบันทึกทางวัตถุของโครงงานไดๆ การจัดวางไมโครโฟน การหมุนปรับปุ่มปรีแอมป์ การตั้งระดับสัญญาณ ซึ่งโปรดิวเซอร์ คือคนที่ควบคุมกระบวนการเหล่านี้ "[1]
วิศวกรด้านการบันทึกเสียงจึงต้อง คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ อุปกรณ์ และ เทคนิคต่างๆ เพื่อ ยกระดับ กระบวนการและศิลปะ ของงานตลอดเวลา